Welcome to T.H.N-Guidance ยินดีต้อนรับสู่...งานแนะแนวโรงเรียนถาวรานุกูล จังหวัดสมุทรสงคราม
ยินดีต้อนรับสู่ Blog T.H.N-Guidance.......
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู for Information and Communication Technology Teachers

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

17 ความจริงเกี่ยวกับคณะวิศวกรรมศาสตร์


ช่วงนี้พี่ใหญ่อย่าง ม.6 หลายๆคนคงเริ่มเก็บตัวซุ่มซ้อมอ่านหนังสือกันแล้ว.. แอดมิชชั่น ครั้งเดียวในชีวิต ทำให้เต็มที่..แต่นอกจากความรอบรู้ในห้องเรียน และเนื้อหาที่สอบแล้วก็คงจะไม่สามารถทำให้ประสบความสำเร็จในการแอดมิชชั่นได้ เพราะยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันนั้นก็คือ การรู้จักตัวเอง..
17 ความจริงเกี่ยวกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ (ใครที่คิดเรียนอาจเปลี่ยนใจได้ถ้าอ่านข้อความต่อไปนี้ )
1.สอบเข้ามาได้แล้วก็ไม่ได้พิเศษกว่าคนอื่นๆ ก็ยังเป็นคนเหมือนๆกับคณะเกษตร คณะแพทย์
2.เข้ามาง่าย ก็ออกง่าย หมายถึงโดนรีไทล์ นี้เป็นเรื่องจริงคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีการออกของนักศึกษาทุกปี บางที่มาก บางที่น้อย หรือบางที่ก็ไม่มี ส่วนใหญ่จะเป็นปี1 ปี2 ปี 3
3.จบน้อยมาก ประมาณว่าเข้าไป 100 กว่าจบตรงตามหลักสูตรไม่ถึง 50 คน
4.ภายในคณะมีตั้งแต่ลูกคุณหนูจนถึงลูกชาวนา
5.หน้าตาตั้งแต่แบบดารานายแบบนางแบบจนถึงดูไม่ได้
6.มีตั้งแต่คนที่เก่ง ฉลาดที่สุด ไปจนถึงคนที่ช่างไมรู้อะไรบ้างเลย ไม่รู้ว่าเข้ามาได้ไง
7.
จบมาเกือบ100%ทำงานของเอกชน
8.การแข่งขันสูงมาก สูงจริงๆ ตั้งแต่สอบเข้าเรียน เข้าทำงาน จนถึงขณะที่ทำงาน

<> <>
9.เงินเดือนตั้งแต่ xx,xxx-xxx,xxx แต่ x,xxx,xxx ไม่รู้ว่ามีไหม ยังไม่เคยเห็น เงินเดือนยิ่งสูงความสามารถยิ่งต้องมากตาม
10.จบออกมา เกรดต่ำกว่า 2.0-2.5 มีโอกาสที่จะได้เดินเตะฝุ่นสูง (ตกงาน) 11.ถ้าได้เกียรตินิยม รับประกันได้ว่ามีงานทำ (เอากันได้ง่ายๆก็ดีซิ)
12.สังคมคาดหวังไว้สูงมาก แบบว่าสร้างตึกแล้วตึกถล่ม ต้องเข้าตารางซะโดยดี (คำขวัญ:เซ็นชื่อ รับตัง ติดคุก)
13.จะบูมเมื่อเศรษฐกิจดี ถ้าเศรษฐกิจดีความต้องการก็สูง แล้วถ้าไม่ดีล่ะ
14.ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี เช่นเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ในโรงงานคนที่ได้รับซองขาวคนแรกคือวิศวกร (พูดว่าโดนให้ออกเป็นคนแรกง่ายกว่า)
15.ไม่เก่งจริงก็มีโอกาสตกงาน (ยกเว้นในสาขาที่กำลังขาดแคลน) เพราะการแข่งขันสูง ลองคิดดูว่าแต่ละสถาบันรับเข้าไปเป็นจำนวนเท่าไหร่ แต่ภาคอุตสาหกรรมรับได้ไม่หมดหรอก
16.จบมาสอบ ใบ กว. ไม่ได้ก็ไปขายก๋วยเตี๋ยว (ขายแอมเวย์ก็ได้)
17.อาชีพนี้อาศัยความทะเยอทยานสูง (ความก้าวหน้าในอาชีพการงานแปรผันตรงกับ ความทะเยอทยาน)


ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จากพี่ลาเต้ www.dek-d.com
และวันที่ 5 ม.ค.55 พบกับพี่ลาเต้และคณะจากเว็บdek- d.com on tour ที่โรงเรียนถาวรานุกูลค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เคล็ดลับ 10 ประการพิชิต Admission

1. สร้างความมั่นใจให้กับตัวเอง
: น้องๆ ต้องมองโลกในด้านบวกให้กับสิ่งที่น้องๆ ต้องการและตั้งใจแน่วแน่ในการกระทำเพราะข้อสอบไม่ว่าจะยากเท่าไหร่ก็ไม่ยากเกินความพยายาม

2. ประเมินความสามารถของตัวเอง
: น้องๆ ต้องพิจารณาว่าคณะวิชาที่น้องเลือกนั้น น้องมีพื้นฐานความรู้ในวิชาที่จะใช้สอบมากน้อยเพียงใด การแข่งขันของคณะวิชานั้นสูงแค่ไหน และประเมินจากเวลาที่เหลือที่น้องๆ จะใช้ในการเตรียมตัวว่าพอเพียงหรือไม่

3. แบ่งเวลาในการดูหนังสือ และกิจกรรมต่างๆ ให้ลงตัว
: เวลาผ่านไปแล้วไม่สามารถเรียกกลับมาได้น้องๆ ต้องพยายามแบ่งเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ ให้เหมาะสมโดยให้เวลากับอ่านหนังสือเป็นหลัก แต่ก็ต้องไม่ลืมที่จะผ่อนคลายโดยการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่น้องๆ ชอบด้วย

4. วางแผนจัดการชีวิตให้ลงตัว
: ข้อนี้จะคล้ายกับการแบ่งเวลาแต่จะลงรายละเอียดเยอะกว่าโดยน้องๆ จะต้องวางแผนการดำเนินชีวิตในแต่ละวันว่าจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในเป้าหมายที่น้องตั้งเอาไว้

5. เอาชนะตัวเอง
: ข้อนี้เป็นข้อที่ยากที่สุด เพราะถ้าน้องๆ เอาชนะตัวเอง เอาชนะความเกียจคร้าน สร้างวินัยให้กับตนเอง สร้างกำลังใจให้กับตัวเองไม่ได้ น้องๆจะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้เลย

6. ขจัดความกังวลออกไป
: เมื่อน้องๆ เริ่มลงมือเตรียมตัวเพื่อสอบต้องตัดความกังวลที่มีอยู่ออกไปให้หมด อย่ากังวลถึงอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น อย่าคิดว่าทำไม่ได้ น้องๆต้องคิดว่าเมื่อมีความพยายาม ต้องมีความสำเร็จ

7. ทำตัวให้สนุกกับการอ่านหนังสือ
: อย่ามองว่าเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย แต่ให้มองว่าเป็นเรื่องที่สนุกสนานทำให้เราประเทืองปัญญา ทำให้เราเป็นคนที่รอบรู้ สามารถเข้าสังคมได้อย่างไม่อายใครและเป็นที่ยอมรับในอนาคต


8. ให้รางวัลกับตัวเองบ้าง
: รางวัลในที่นี้คงไม่ได้หมายถึง เงินทอง เพชรพลอย แต่หมายถึงการทำกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย กิจกรรมที่ทำแล้วสบายใจ เช่นการร้องคาราโอเกะ ดูหนัง ฟังเพลง

9. สร้างสิ่งแวดล้อมให้เป็นแรงกระตุ้น
: อาจจะทำได้โดยการรวมกลุ่มกันอ่านหนังสือกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนความคิดและทบทวนในสิ่งที่เรากำลังอ่าน นอกจากจะทำให้เราอยากอ่านหนังสือแล้วยังทำให้เราประเมิณตัวเองได้อีกว่ายังต้องพยายามมากขึ้นอีกแค่ไหน


10. ให้โอกาสตัวเองอยู่เสมอ ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร
: ทางเลือกในการเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยมีอยู่มากมาย ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐบาล และเอกชนถึงน้องจะพลาดหวังจากทางเลือกนึงก็ยังที่ทางเลือกอื่น

วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

โลจิสติกส์คืออะไร



มารู้จักกับ "โลจิสติกส์"

            โลจิสติกส์ (Logistics) เป็นคำที่มาจากภาษากรีกแปลว่า ศิลปะในการคำนวณ ในสมัยโบราณ รวมทั้งในสมัยปัจจุบัน มีการกล่าวถึง การส่งกำลังบำรุงทางทหาร และการประสบชัยชนะ หรือความพ่ายแพ้ในสงครามโดยอาศัยความเข้มแข็ง หรือความอ่อนแอของสมรรถนะในเชิงโลจิสติกส์
            คำนิยามที่ใช้นิยามการจัดการโลจิสติกส์ในระดับสากลนั้นจะเป็นคำนิยามจาก The Council of Logistics Management (CLM) ซึ่งได้ให้คำนิยามการจัดการด้านโลจิสติกส์ไว้ว่า
กระบวนการในการวางแผน ดำเนินการ และควบคุมประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการไหล การจัดเก็บวัตถุดิบ สินค้าคงคลังในกระบวนการ สินค้าสำเร็จรูป และสารสนเทศที่เกี่ยวข้องจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดที่มีการใช้งาน โดยมีเป้าหมายเพื่อสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค
นอกจากนั้นแล้ว Logistix Partners Oy, Helsinki, Fl ให้คำนิยามโลจิสติกส์ธุรกิจว่า
โครงสร้างของการวางแผนทางธุรกิจ สำหรับการบริหารจัดการกับวัตถุดิบ การบริการการไหลของข้อมูล และเงินทุน ซึ่งรวมถึงข้อมูลที่มีความซับซ้อน การติดต่อสื่อสาร และกระบวนการควบคุม ให้ตรงกับความต้องการในสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจปัจจุบัน

            พันธกิจของการบริหารโลจิสติกส์ คือ การวางแผนการดำเนินงานและประสานการดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆที่มุ่งบรรลุผลในด้านการตอบสนอง ความต้องการของลูกค้า โดยการนำเสนอบริการและคุณภาพในระดับที่เหนือกว่า ด้วยต้นทุนการดำเนินงานที่สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำนิยามที่เกี่ยวข้อง
วิศวกรรมโลจิสติกส์ (Logistics Engineering)
โลจิสติกส์แบบย้อนกลับ (Reverse Logistics)
• Production Logistics
• Consumer Logistics
• Third Party Logistics
• Global Logistics

บทบาทของโลจิสติกส์
โลจิสติกส์เป็นกุญแจสำคัญในระบบเศรษฐกิจสองแนวทาง คือ
โลจิสติกส์เป็นรายจ่ายที่สำคัญสำหรับธุรกิจต่างๆ และจะส่งผลกระทบและได้รับผลกระทบจากกิจกรรมอื่น ในระบบเศรษฐกิจ การปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการด้านโลจิสติกส์ จะส่งผลโดยตรงต่อการปรับปรุงสภาพเศรษฐกิจโดยรวมให้ดีขึ้นได้ โลจิสติกส์ได้รองรับการเปลี่ยนแปลงและกระบวนการของธุรกรรมทางเศรษฐกิจ และได้กลายเป็นกิจกรรมสำคัญในด้านการสนับสนุนการขายเสมือนหนึ่งเป็นสินค้าและบริการด้วย โลจิสติกส์เป็นการเพิ่มอรรถโยชน์ทางด้านเวลาและสถานที่ โดยให้มีการนำสินค้าที่ลูกค้าต้องการเพื่อบริโภคหรือเพื่อการผลิตไปยังสถานที่ที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ ในสภาพที่ต้องการ และในต้นทุนที่ต้องการ
พัฒนาการจัดการโลจิสติกส์ พัฒนาการของโลจิสติกส์ในช่วงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 เป็นต้นมา อาจสรุปได้ดังนี้
โลจิสติกส์ด้านการทหาร
โลจิสติกส์เริ่มเป็นที่รู้จักในครั้งแรกสืบเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามอ่าวเปอร์เซีย ในความสามารถการกระจายและจัดเก็บยุทธภัณฑ์และกำลังพลอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นกุญแจสำคัญในชัยชนะของกองทัพสหรัฐในครั้งนั้น

การแข่งขันที่รุนแรง
จากการที่อัตราดอกเบี้ยและต้นทุนด้านพลังงานสูงขึ้น โลจิสติกส์จึงได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น จากการที่โลจิสติกส์เป็นต้นทุน ในการดำเนินที่สำคัญตัวหนึ่ง ต้นทุนจากโลจิสติกส์จึงเป็นสิ่งที่กำหนด ความอยู่รอดสำหรับหลายๆ องค์กร นอกจากนี้อุตสาหกรรมยุคโลกาภิวัฒน์ยังได้ส่งผลกระทบ ต่อโลจิสติกส์ในหลายแนวทางดังนี้
การแข่งขันระดับโลกที่มากขึ้น โลจิสติกส์เป็นตัวตัดสินเนื่องจากองค์กรภายในประเทศจะต้องเพิ่มความน่าเชื่อถือ และมีการตอบสนองที่รวดเร็วต่อตลาดที่อยู่ใกล้เคียงมากกว่าคู่แข่งที่อยู่ไกลออกไป
องค์กรที่ซื้อขายระหว่างคู่ค้า จะพบว่าโซ่อุปทานมีต้นทุนสูงและความซับซ้อนมากขึ้น การบริหารโลจิสติกสืที่ดีจึงมีความจำเป็นเพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขันอย่างเต็มที่ทั่วโลก

กิจกรรมหลักในการจัดการโลจิสติกส์
กิจกรรมต่างๆ ที่อยู่ในขอบข่ายการกระบวนการโลจิสติกส์ ประกอบด้วย
งานบริการลูกค้า
การวางแผนเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งของอาคารโรงงาน คลังสินค้า
การพยากรณ์และการวางแผนอุปสงค์
การจัดซื้อจัดหา
การจัดการสินค้าคงคลัง
การจัดการวัตถุดิบ
การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ
การบรรจุหีบห่อ
การดำเนินการกับคำสั่งซื้อ
การขนของและการจัดส่ง
โลจิสติกส์ย้อนกลับ (อาทิเช่น การจัดการสินค้าคืน)
การจัดการกับช่องทางจัดจำหน่าย
การกระจายสินค้า
คลังสินค้าและการเก็บสินค้าเข้าคลัง
การจราจรและการขนส่ง
กิจกรรมการแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
การรักษาความปลอดภัย
การเชื่อมประสานกันของกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้เพื่อบรรลุถึง ความร่วมมือกันในการวางแผน, การดำเนินการ, การควบคุมสินค้าและการบริการ และการไหลของข้อมูลผ่านองค์กรอย่างประสานสอดคล้องมีประสิทธิภาพ คือ สิ่งที่รู้จักกันทุกวันนี้ว่า โลจิสติกส์
            สรุปแล้ว การจัดการโลจิสติกส์ คือ กระบวนการจัดการและกระบวนการสารสนเทศ ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนแกนกลาง ในการแสวงหาแหล่งของวัตถุดิบและบริการ, การจัดหา, การเก็บสินค้าเข้าคลัง และการจัดส่งผลิตภัณฑ์ ที่ถูกต้องไปยังสถานที่ที่ถูกต้องในเวลาที่พอเหมาะ โดยมีการเก็บสินค้าคงคลัง, การสิ้นเปลืองเวลา ค่าใช้จ่าย, ความเพียรพยาม. และเงินทุน น้อยที่สุดเพื่อที่จะทำให้ลูกค้าพึงพอใจ อย่างมีประสิทธิผล

ที่มา : http://www.utcc.ac.th/engineer/logistics/logistic.htm