Welcome to T.H.N-Guidance ยินดีต้อนรับสู่...งานแนะแนวโรงเรียนถาวรานุกูล จังหวัดสมุทรสงคราม
ยินดีต้อนรับสู่ Blog T.H.N-Guidance.......
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู for Information and Communication Technology Teachers

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

ทำคะแนนวิชาสังคม..ให้เต็มร้อย

"วิชาสังคมศึกษา" แค่ได้ยินชื่อวิชาขึ้นมา หลายคนก็เตรียมหมอนนอนรอแล้ว เด็กไทยแปลกดีนะ พวกวิชาคำนวณ อย่างคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ก็ไม่ชอบ ภาษาต่างประเทศก็ไม่ชอบ วิชาง่ายๆ อย่างภาษาไทยก็ไม่ชอบ ส่วนวิชาสังคมยิ่งไม่ต้องพูดถึง เข้าไปหลับอย่างเดียว  สาเหตุที่น้องๆ ไม่ค่อยชอบวิชานี้ ลองสรุปมาประมาณนี้ ลองมาดูว่าจริงมั้ย            
1. เนื้อหาเยอะมาก ไม่รู้จะเยอะไปไหน เรียนสิบปีก็ยังไม่หมดซักที 2. เป็นวิชาที่ยาก ใช้ความจำล้วน คนความจำสั้นอย่างเราก็จำไม่เคยได้ซักที
3. ไม่รู้ว่าเรียนแล้วเอามาใช้อะไร             สังคม เป็นวิชาที่ยากจริง แต่ก็สนุกทุกครั้งที่ได้เรียน มีหลายเรื่องให้ได้เรียน ไม่ได้กระจุกอยู่แค่ประวัติศาสตร์ เช่น การเมืองการปกครอง เศรษฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ หน้าที่พลเมือง รวมถึงวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ และถ้าใครที่กำลังคิดว่าเรียนแล้วไม่รู้จะเอามาใช้อะไร อยากให้ลองคิดใหม่นะเพราะความจริงแล้ว รอบๆ ตัวเราทั้งหมด คือ เรื่องที่อยู่ในวิชาสังคมทั้งนั้น (ไม่งั้นเค้าจะเรียกว่าวิชาสังคมทำไม)
เด็กดีดอทคอม :: เรียนสังคมให้เก่ง ไม่ใช่เรื่องยาก !!

 









           
เพื่อให้เห็นภาพจะลองยกตัวอย่างเรื่อง "น้ำท่วม"ที่ผ่านมามีทั้งเรื่องมิประเทศ การจัดการทรัพยากร โยงเข้าประวัติศาสตร์ได้หน่อยๆ ว่า ประเทศไทยไม่เคยน้ำท่วมหนักขนาดนี้ ต่อมาพอน้ำท่วมแล้ว ก็มีการประท้วงเรียกร้อง ขอความช่วยเหลือต่างๆ ในแง่นี้ก็สามารถมองได้ว่าเป็นเรื่องของกฎหมาย ความเป็นประชาธิปไตย เมื่อน้ำท่วมแล้ว สินค้าขาดตลาด สินค้าราคาแพงขึ้น อันนี้ก็โยงเข้าเศรษฐศาสตร์ สมดุลทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญยังเข้าเรื่องการเมืองได้ด้วย เพราะรัฐบาลจะต้องวางโครงสร้างหรือแก้ปัญหาให้เสร็จสิ้น เห็นมั้ยว่าถ้ามองกันจริงๆ วิชาสังคมเป็นเรื่องใกล้ตัวเราที่สุด หยิบจับอะไรมา ก็เอามาเป็นประเด็นศึกษาในวิชาสังคมได้หมด ถ้าน้องๆ ทำได้แบบนี้ ทุกเรื่องที่อยู่บนโลกจะกลายเป็นเรื่องสนุกไปเลยล่ะ

นอกจากเรื่องเนื้อหาเยอะล้นโลกแล้ว อีกสาเหตุที่ทำให้น้องๆ ไม่ชอบวิชานี้ ก็เป็นที่ข้อสอบ ทั้งยาก ทั้งเยอะ โดยลักษณะข้อสอบสังคม มีดังนี้
           

 - อาศัยความจำ เช่น พิธีสารโตเกียวมีไว้ทำอะไร ประเทศไหนไม่อยู่ในอาเซียน เป็นต้น 
 - โจทย์ยาว หรือไม่ก็คำตอบยาว บางข้อที่โจทย์ยาว คำตอบจะสั้น แต่ถ้าข้อไหนโจทย์สั้นล่ะก็นะ คำตอบช้อละ 2 บรรทัดเป็นอย่างต่ำ           
- เอาทุกอย่างที่เรียนมาวิเคราะห์ เช่น อยุธยาเสียกรุงครั้งที่ 2 ด้วยสาเหตุใด ซึ่งช้อยจะไม่ได้ออกทุกคำตามหนังสือหรอก แต่อาจารย์จะสับขาหลอกพวกเรา เปลี่ยนประโยค ใช้ภาษาคนละแบบ หลักๆ เราก็ต้องจำและวิเคราะห์ให้ได้           
- เอาสถานการณ์ปัจจุบันนี่แหละมาออกข้อสอบ บางเรื่องก็ไม่ได้อยู่ในหนังสือเรียนเลย แต่ดันออกเยอะกว่าในหนังสืออีก ก็เพราะข้อสอบแบบนี้นี่เอง ที่ไม่เคยมีใครทำได้คะแนนเต็มซักคน!!!
เมื่อดูจากลักษณะข้อสอบ และปัญหาแล้ว  ขอเสนอวิธีที่จะทำให้น้องๆ เก่งสังคมขึ้นมาได้ ลองนำไปใช้ดูนะคะ ดูข่าวบ่อยๆ ช่วยได้เยอะ บอกไปตั้งแต่แรกแล้วว่าข้อสอบมักจะมีสถานการณ์ปัจจุบันแซมๆ เข้าไปด้วย ก็วิชาสังคมนี่นะ ต้องรู้และทันกับสถานการณ์ของสังคมปัจจุบัน ถึงจะทำได้คะแนนดี ใครที่เอาแต่ท่องหนังสือ แต่ไม่เคยดูข่าวเลย ก็อาจจะต้องตกม้าตายได้ อีกอย่างการเข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัว จะทำให้การเรียนสนุกขึ้น เพราะร้อยทั้งร้อยอาจารย์จะชวนคุย และนั่งวิเคราะห์กัน บางทีอาจารย์ก็ลืมเรื่องในตำราไปเลย และเชื่อเถอะว่าสถานการณ์สำคัญๆ ในปัจจุบันจะต้องไปอยู่ในหนังสือในอนาคตข้างหน้าอย่างแน่นอน ดังนั้นทุกเย็นหลังละครจบ หรือก่อนละครภาคค่ำ ก็ลองหันมาดูข่าวกันซักนิด เผื่อจะติดใจ
เด็กดีดอทคอม :: เรียนสังคมให้เก่ง ไม่ใช่เรื่องยาก !!

เปลี่ยนทัศนคติ "วิชาสังคม" เป็นเรื่องใกล้ตัว สำคัญและจำเป็น
หลายคนไม่เห็นว่าวิชาสังคมจะจับต้องได้แถมยังเป็นเรื่องไกลตัว เข้าใจยาก อยากให้น้องๆ ลองเปลี่ยนทัศนคติ มองให้เห็นว่าวิชาสังคมเป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆ และสำคัญมากด้วย ไม่อย่างนั้นเค้าไม่ให้เราเรียนมาเป็นสิบๆ ปีหรอกค่ะ เช่น การเรียนเรื่องฤดูกาลของประเทศ จะหนาว จะร้อน เราสัมผัสได้ทั้งนั้น หรือ เรื่องหน้าที่พลเมือง ถ้าถึงเวลาเลือกตั้ง เราก็ต้องไปเลือกตั้ง ไม่อย่างนั้นจะต้องเสียสิทธิ์ทางการเมืองหลายอย่าง เป็นต้น
ขอคอนเฟิร์มว่า ความรู้ในวิชาสังคมหลายอย่างเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตของเราทุกวันค่ะ ที่สำคัญยังเป็นวิชาที่ใช้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยหลายสาขาด้วย



หาหนังสืออ่านเสริมหรือหาสื่ออื่นๆ มาเสริมความรู้ บางคนไม่อยากอ่านหนังสือวิชาสังคมเลย เพราะไม่สนุก มีแต่เนื้อหา บทนึงเป็นร้อยๆ หน้าปัญหานี้แก้ง่ายมากๆ ยิ่งเดี๋ยวนี้มีหนังสือทั้งชีวประวัติ ประวัติศาสตร์ หรือสังคมด้านอื่นๆ ที่มาในรูปแบบการ์ตูน อ่านง่าย พี่มิ้นท์ว่าช่วยได้เยอะค่ะ การทำเป็นการ์ตูนทำให้เราจำทั้งภาพและเนื้อหาได้แทบจะฝังอยู่ในหัวเลย นอกจากนี้ยังมีสื่อประเภทภาพยนตร์ แนวอิงประวัติศาสตร์ ที่ไม่ได้มีแค่ของไทยเพียงอย่างเดียว เพราะเรายังสามารถรู้อารยธรรมของต่างชาติได้ด้วย เห็นมั้ยว่า วิชาสังคม เป็นเรื่องสนุก การปรับเปลี่ยนวิธีรียนให้มาเป็นวิธีนี้ทั้งสนุก ทั้งได้ความรู้เลยล่ะ^^

หัดเชื่อมโยงและวิเคราะห์ให้เป็นเรื่องสนุก ฟังดูอาจจะเป็นเรื่องที่ยาก แต่ไม่ยากอย่างที่คิดค่ะ เวลาเราดูข่าวหรือกำลังเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งลองเชื่อมโยงกับความรู้เก่าๆ ในหัว จะช่วยให้เราจำหลายๆ เรื่องได้แม่นขึ้น เพราะเราได้เชื่อมโยงทุกอย่างเข้าไว้ด้วยกัน จำก็จำได้หมด ลืมก็ลืมหมด (เอ้ย! ไม่ใช่) เช่น เรียนเรื่องประวัติศาสตร์อยุธยา ลองเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์สุโขทัยดูว่า ก่อนอยุธยาขึ้นมา สุโขทัยเป็นยังไง เป็นต้น พอทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง เราจะสนุกไปกับมันแน่นอน


ฟังครูสอนให้เข้าหู ถ้าอาจารย์วิชาสังคม เป็นคนที่สอนสนุก แนะนำว่าให้ตั้งใจเรียนเป็นพิเศษ เพราะเราจะได้อะไรดีๆ เยอะเลย เพราะเนื้อหาที่มีผสมกับลีลาท่าทางการเล่า จะทำให้เรื่องน่าเบื่อกลายเป็นนิยายขึ้นมาได้ ซึ่งจะเข้าใจกว่าอ่านด้วยตัวเองอีกด้วย

ความท้าทายของวิชาสังคม อยู่ที่ "การเข้าถึง" "เข้าใจ" และนำมา "ประยุกต์ใช้" ให้เป็น เพิ่มอีกอย่าง ขอแค่ "สนุก" ไปกับมัน เรื่องยากๆ จะกลายเป็นเรื่องง่ายทันที ดังนั้นหลักใหญ่ๆ ของการเรียนสังคมก็คือ การออกมาหาความรู้นอกห้องเรียนนะคะ

ขอขอบคุณข้อแนะนำดี ๆ จาก Dek-d.comนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น